Skip to content

ขี่แนวโน้มใหม่ไปกับ Gartner Technology Trends 2024

แอดได้มีโอกาสเข้าฟัง webinar ที่ทาง IMC Institute จัดร่วมกับทาง ออพติมุส (optimus) ในงาน Technology Trends 2024 ซึ่งทำมาเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ก็มีการนำเอาเทรนด์ที่ Gartner ออกบทวิเคราะห์มาย่อยให้กับผู้เข้าร่วมงานฟัง ซึ่งหลายๆ เทรนด์ แอดฟังดูแล้วค่อนข้างนามธรรม เข้าใจยาก ไม่เหมือนสมัยก่อนที่จะเห็นภาพชัดๆ เช่น 3D Printer, Cloud Solution หรือ Big Data เป็นต้น ซึ่งทางวิทยากรได้อธิบายเพิ่มเติมว่าช่วงปีหลังๆ Gartner มีการออกเทรนด์เพื่อแสดงถึง Vaule ต่างๆ มากขึ้น คร้้งนี้ก็เช่นกัน ไม่แปลกที่หลายคนอ่านแลัวยังงงๆ ซึ่งแอดได้รวบรวมความรู้ที่ได้จากในงาน รวมถึงลองดูเคสที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มาย่อยให้พี่ๆ ที่ไม่ได้ร่วมงานในครั้งนี้ได้อ่านกันดูนะครับ

Technology Trends ของ Gartner ปีหน้า 2024 แบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ ได้แก่

กลุ่มที่ 1: Protect your investment

  • เทรนด์ในกลุ่มนี้จะเน้นไปที่การป้องกันผลกระทบต่างๆจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีขององค์กร พร้อมให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และความเป็นส่วนตัวของเทคโนโลยี

กลุ่มที่ 2: Rise of the builders

  •  เทรนด์ในกลุ่มนี้เน้นการส่งเสริมให้พนักงานและนักพัฒนาภายในองค์กรสามารถสร้างสรรค์โซลูชันใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานแต่ละฟังก์ชัน โดยตอบสนองคุณค่าให้ตรงกับความต้องการด้วยระยะเวลาการสร้างโซลูชั่นที่เร็วมากขึ้น ลดเวลาสิ้นเปลืองหรือไม่จำเป็นลง

กลุ่มที่ 3: Deliver the value

  •  เทรนด์ในกลุ่มนี้เน้นการมุ่งสร้างผลลัพธ์เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสบการณ์ของลูกค้า และการสร้างนวัตกรรมต่างๆ

โดยในแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดและตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่

AI Trust, Risk and Security Management (AI TRiSM)

  • AI as a partner, เนื่องจากเทคโนโลยี AI มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อผู้คนและองค์กรจำนวนมาก แนวโน้มในเรื่องของ AI TRiSM จะพูดถึงกรอบแนวทางสำหรับการพัฒนาและกำกับดูแลระบบ AI ให้มีความโปร่งใส ควมคุมและสามารถอธิบายได้  ยังพบอีกว่า คนทั่วไปไม่สามารถอธิบายได้ว่า AI คืออะไร ทำงานอย่างไร รวมไปถึงการตัดสินใจในเรื่องต่างๆด้วยกระบวนการคิดแบบไหนยิ่งตอนนี้ใครๆ ก็เข้าถึง GenAI ได้ เรื่อง AI TRiSM จึงมีบทบาทอย่างมากจากนี้ไป

Continuous Threat Exposure Management (CTEM)

  • Be safe, Gartner พูดถึง CTEM ว่าเป็นแนวทางเชิงปฏิบัติสำหรับการจัดการความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดย CTEM ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและจัดการช่องโหว่และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ Gartner คาดการณ์ว่า CTEM จะมีบทบาทสำคัญในการปกป้องธุรกิจจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เนื่องจากภัยคุกคามเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น

Sustainable technology

  • Protect the future, คือเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีที่ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ลดขยะ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ซึ่งในบ้านเรา ESG ก็ถูกพูดถึงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Green IT Product ต่างๆ หรือจะเป็นแนวคิดเรื่องของ Carbon Footprint ที่จะยิ่งถูกทำให้เห็นเป็นจริงมากขึ้นๆ

Platform Engineering: Gartner

  • Developer-driven self service, คาดการณ์ว่า Platform Engineering จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมซอฟต์แวร์ เนื่องจากแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สามารถช่วยนักพัฒนาประหยัดเวลาและทรัพยากร และสามารถช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น

AI-augmented development

  • Accelerate creation,  คือแนวคิดการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการออกแบบ การเขียนโค้ด และการทดสอบแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ตัวอย่างของ AI-augmented development ของเครื่องมือที่ชื่อ GitHub Copilot ซึ่งสามารถใช้สร้างคำแนะนำในการเขียนโค้ดและสร้างโค้ดสั้น ๆ

Industry cloud platforms

  • Tailor your tailor’s work, คือแพลตฟอร์มคลาวด์คอมพิวติ้งที่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งาน Cloud ที่มีอยู่แล้วให้ทำงานเข้ากับระบบและความต้องการเฉพาะของอุตสาหกรรมสายงานนั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่นการใช้ SAP Cloud เชื่อมต่อกับ การจัดซื้อสินค้า การจัดการสต็อก และความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) เป็นต้น (greater agility, innovation and security)

Intelligent applications

  • Optimize decision making, การนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจ เข้าใจลูกค้ามากขึ้น สามารถปรับปรุงบริการ หรือช่วยในการตัดสินใจได้ดีขึ้น

Democratized Generative AI

  •  Power and responsibility, คือแนวโน้มในการทำให้เทคโนโลยี GenAI มีความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นแม้กับผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการใช้งาน เช่น การพัฒนาเครื่องมือและแพลตฟอร์มใหม่ที่ทำให้ง่ายต่อการใช้ GenAI โดยคาดว่าจะนำมาสู่การใช้ GenAI ในธุรกิจหลาย ๆ ประการเพื่อการแก้ปัญหาและสร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจต่อไป

ugmented-connected workforce

  • Push the pioneers, Gartner พูดถึงเทรนด์นี้ว่าเป็นการที่พนักงานทำงานโดยใช้เทคโนโลยี AR, VR และอุปกรณ์สวมใส่อื่นๆ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดย Gartner คาดการณ์ว่า Augmented-connected workforce จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรม เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้ในทุกที่ทุกเวลา และสามารถเข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

Machine Customer

  • Buy with byte(s), เป็นแนวคิดที่มองว่า AI สามารถโต้ตอบกับธุรกิจได้เหมือนกับลูกค้ามนุษย์ มีความสามารถในการเจรจา สื่อสาร ซื้อสินค้าและบริการได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะมีบทบาททางธุรกิจที่สำคัญในอนาคต

องค์กรจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับเทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน แนวทางการปรับตัวที่องค์กรสามารถทำได้ ได้แก่

  • ติดตามเทรนด์เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยองค์กรควรติดตามเทรนด์เทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด เพื่อเข้าใจทิศทางและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

  • สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ องค์กรควรสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนา เพื่อให้ทีมงานสามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

  • ลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม องค์กรควรลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ

เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ของ Gartner ปี 2024 ที่แอดแชร์ในบทความนี้ แอดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้พี่ๆ เข้าใจถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญ และเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัวสู่อนาคต แล้วหากแอดได้ฟังเรื่องอะไรดีๆ ในสัมมนาไหนอีก แอดหวังว่าจะมีโอกาสมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมนะครับ

ท่านใดอ่านแล้วไม่จุใจ โดยอยากฟังเนื้อหาวันนั้นแบบเต็มๆ พี่ๆสามารถเข้าไปรับชมรับฟังได้จาก link ที่บันทึก webinar วันนั้นได้ที่ 

จุดประกายโดย : คุณ วุฒิชัย ปริญญานุสรณ์

SHARE TO:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email